สงสัยกันไหม ว่าทำไมที่รพ.จิตเวชถึงเปิดเพลงตลอดเวลา วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันครับ

Last updated: 22 May 2023  |  1809 Views  | 

สงสัยกันไหม ว่าทำไมที่รพ.จิตเวชถึงเปิดเพลงตลอดเวลา วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันครับ

สงสัยกันไหม ว่าทำไมที่รพ.จิตเวชถึงเปิดเพลงตลอดเวลา วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันครับ

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับดนตรีบำบัด 

มาบ้าง ว่าดนตรีช่วยทำให้ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจขึ้นมาได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราเคยเขียนเกี่ยวกับดนตรีบำบัดเบื้องต้นไว้แล้วครับ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2Vd5L40

แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกกับการเลือกเพลงในการบำบัด เพราะไม่ว่าจะเป็น บีท เมโลดี้ หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของเพลงที่นำมาใช้บำบัด ก็มีความสำคัญมากเหมือนกันครับ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลในด้านจิตวิทยาและการทำงานของสมองโดยตรงนั่นเองครับ

โดยส่วนประกอบของดนตรีที่มีผลกับการดำบัดนั้นจะมีดังนี้ครับ

1.จังหวะของดนตรี (Rhythm)

หากเล่นในจังหวะ 70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา


2. ระดับของเสียง (Pitch)
ระดับของเสียง มีส่วนทำให้เกิดการผ่อนคลาย โดยเสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกสงบ

3. ความดังของเสียง (Volume/ Intensity)
จากงานวิจัยพบว่า เสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุขและสบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้


4. การประสานเสียง (Harmony)
เพราะเป็นการร้องร่วมร้องเพลงด้วยกันหลายคน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการควบคุมตัวเองมักมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง ซึ่งช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกและทำการประเมินการรักษาได้ง่ายขึ้น

5. ทำนองเพลง (Melody)
ดนตรีบำบัด ทำนองของเพลงคือส่วนที่ทำให้บทเพลงนั้นเข้าถึงอารมณ์คนฟังได้ดีที่สุด การเปิดทำนองเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบจึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ จนสุดท้ายช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตลอดการรักษาได้เป็นอย่างดี

เพราะฉะนั้นเราจึงมักได้ยิน "ดนตรีแนวคลาสสิก" เปิดในรพ.จิตเวชครับ เพราะมีองค์ประกอบทางดนตรีที่เหมาะสมกับการบำบัดที่สุดครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการเลือกเพลงบำบัดของตัวเราเอง เราอาจเลือกจากเพลงที่ชอบก็ได้ครับ เพราะการบำบัดด้วยดนตรีเราต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างของตัวเราเองครับ รวมไปถึงความชอบของแนวเพลง เราเพียงต้องเลือกให้เหมาะสมและค่อย ๆ ปรับเพลงให้เหมาะกับการบำบัดผ่อนคลายความเครียดก็ได้ครับผม

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Cigna และ Golden Nursing Home ครับ

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy